การตรวจคัดกรองใหม่ที่จะช่วยให้การตั้งครรภ์ของคุณแม่มีความปลอดภัยมากยิ่งขี้น
การตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษ
(PRE-ECLAMPSIA SCREENING)
ความเสี่ยงที่สามารถรู้ก่อนได้ อย่ารอเวลา จนกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับการตั้งครรภ์ของคุณ
ป้องกันดีกว่ารักษา ป้องกันดีกว่ารักษา ป้องกันดีกว่ารักษา
ภาวะครรภ์เป็นพิษ...
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ อาการหลักที่พบคือ มีความดันโลหิตสูง และพบโปรตีนในปัสสาวะในปริมาณมาก ทั้งนี้ภาวะครรภ์เป็นพิษอาจมีการพัฒนาไปสู่ครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ที่จะส่งผลกระทบ เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ ทำให้ทารกไม่เจริญเติบโต ภาวะรกลอกตัว นำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดและถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์ได้
ในขณะที่ผลกระทบร้ายแรงต่อคุณแม่ คือ การชักหมดสติ มีภาวะซีดจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกสลาย เกล็ดเลือดต่ำทำให้มีเลือดออกผิดปกติ การทำงานของตับและไตผิดปกติ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอาการ HELLP syndrome ส่งผลให้ช็อกและเสียชีวิตได้เช่นกัน
สัญญาณอันตราย ที่จะนำไปสู่ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง
ปัสสาวะน้อย
ปวดหัวอย่างรุนแรง
ปอดบวม
มือ เท้าบวม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
คลื่นไส้ อาเจียน
ตาพร่ามัว
จุก แน่น หน้าอกหายใจติดขัด
โอกาสในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
รู้หรือไม่???
ครรภ์เป็นพิษ เป็นสาเหตุต้น ๆ ของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในผู้หญิงตั้งครรภ์
ในแต่ละปี พบหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ และมีทารกต้องคลอดก่อนกำหนดมากกว่า 25 ล้านคน จากคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ (1) ผลสำรวจในประเทศไทย ปี 2017 พบว่ามีคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง ถึง 10.1 ใน 1,000 (2)
การรักษา
ปัจจุบันภาวะครรภ์เป็นพิษยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง แต่อาการและความผิดปกติที่เกิดขึ้น จะหายไปเองหลังการคลอดหรือยุติการตั้งครรภ์ ทั้งนี้หากคุณแม่ที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงตั้งแต่เริ่มต้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ชะลออาการ และเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ภาวะครรภ์เป็นพิษ อันตรายกว่าที่คุณคิด...
สาเหตุในการเกิดครรภ์เป็นพิษนั้นยังไม่แน่ชัด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดโรคนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ ภาวะเจ็บป่วยเป็นโรคของคุณแม่ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และพันธุกรรม ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ไม่มีประวัติความเสี่ยงใด ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น การตรวจวิเคราะห์ความสี่ยงแบบผสม จึงเป็นวิธีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อทำให้การตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษมีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
A new era in Pre-Eclampsia screening
Combined strategy
การตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษแบบผสม คือการใช้หลาย ๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเข้ามาวิเคราะห์ ได้แก่ ประวัติของมารดาและการตั้งครรภ์ ค่าความดันโลหิต ดัชนีชี้วัดการไหลของเลือดในเส้นเลือดของมดลูก และสารชีวเคมีที่กระตุ้นการสร้างหลอดเลือดรก (Placental Growth Factor; PlGF) ที่ใช้บ่งชี้การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ มาใช้ในการประเมินผลร่วมกัน
สารบ่งชี้ภาวะครรภ์เป็นพิษในเลือด (PlGF)
2/4
ค่าเฉลี่ยความดันโลหิต
3/4
ค่าอัลตราซาวด์ Uterine artery doppler (UTPI)
4/4
ประวัติส่วนตัวและประวัติการตั้งครรภ์
1/4
ตรวจคัดกรองภาวะครรภ์เป็นพิษกับ BRIA
ตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (10 สัปดาห์ -13 สัปดาห์ 6 วัน) แม้จะยังไม่มีอาการของครรภ์เป็นพิษ
ออกผลเร็ว ภายใน 7 วันทำการ ช่วยให้แพทย์จัดการและทำการรักษาได้ทัน
การตรวจคัดกรองนี้ใช้เพียงเลือดของคุณแม่ จึงไม่เป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์
ตรวจคัดกรองที่มีอัตราการตรวจพบสูงกว่า 85%
การตรวจคัดกรองนี้จะช่วยให้สามารถวางแผนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายที่รุนแรงในอนาคต จึงเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทั้งแม่และทารกในครรภ์
References:
1. Kuklina et al., 2009 (Obstet Gynecol 2009;113:1299–306)
2. Tippawan Liabsuetrakul and Thida, 2017 (Geographical distribution of hypertensive disorders in pregnancy and their adverse maternal and perinatal outcomes in Thailand)
3. Parker S et.al., 2010 (Updated National Birth Prevalence estimates for selected birth defects in the United States, 2004-2006. Birth Defects Res A Clin Mol Teratol. 2010)
4. Duley L., 2009 (The global impact of pre-eclampsia and eclampsia. Semin Perinatol)
5. Romo A et al., 2009 (Intrauterine growth retardation (IUGR): epidemiology and etiology. Pediatr Endocrinol Rev. 2009)
6. WHO media centre, fact sheet 2016. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs363/en/